ลักษณะของครูที่ดี
สังคมคาดหวังว่า ครู คือ แบบอย่างที่ดีของศิษย์เป็นผู้สร้างสมาชิกใหม่ของสังคมให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อสังคม ธรรมชาติของอาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องสัมผัสกับบุคคลอื่นอยู่เสมอ ฉะนั้นผู้ดำเนินอาชีพครูจึงต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และใฝ่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
สังคมคาดหวังว่า ครู คือ แบบอย่างที่ดีของศิษย์เป็นผู้สร้างสมาชิกใหม่ของสังคมให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อสังคม ธรรมชาติของอาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องสัมผัสกับบุคคลอื่นอยู่เสมอ ฉะนั้นผู้ดำเนินอาชีพครูจึงต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และใฝ่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เอกลักษณ์ของครู
1.อดทน รู้จักผ่อนปรนต่อปัญหา
สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ทั้งในเวลาและนอกเวลาสอน
2.รับผิดชอบต่อหน้าที่ และต่อตนเอง
3.เอาใจใส่ต่อการเรียนความประพฤติ ความเป็นอยู่
4.ใฝ่หาความรู้ สำรวจ ปรับปรุงแก้ไขตนเองอยู่เสมอ
5.ขยันหมั่นเพียร รู้จักคิดริเริ่ม
6.มีความยุติธรรมและทำให้ศิษย์เกิดความอบอุ่นใจ
7.ดำรงตนอย่างเรียบง่าย ประหยัดเหมาะสมกับสภาพอาชีพ
8.เป็นผู้มีวัฒนธรรม และศีลธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือ
9. สุภาพเรียบร้อย ประพฤติดีสม่ำเสมอ
เหมาะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อศิษย์
ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดี
ครูที่ดีนั้นจะต้องทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยัน
และอุตสาหะพากเพียร
ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย
สำรวมระวัง ความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน
ต้องตั้งใจมั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ต้องเมตตาหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น
ทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล".....
ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนา
หลักคำสอนหรือหลักธรรมในพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับความเป็นครู
ประกอบด้วยหลักธรรม 7 ประการ คือ
1. ปิโย น่ารัก คือ การทำตัวเป็นที่รักต่อศิษย์และบุคคลทั่วไป
การที่ครูจะเป็นที่รักแก่ศิษย์ได้ ก็ควรตั้งตนอยู่ในพรหมวิหาร 4 คือ
1.1 มีเมตตา
ปรารถนาดีต่อศิษย์
หาทางให้ศิษย์เป็นสุขและเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวิชาการและการดำเนินชีวิต
คอยระวังมิให้ศิษย์ตกอยู่ในความประมาท
1.2 มีกรุณา สงสาร
เอ็นดูศิษย์ อยากช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ ความไม่รู้
1.3 มีมุทิตา คือ
ชื่นชมยินดีเมื่อศิษย์ได้ดี และยกย่องเชิดชูให้ปรากฏเป็นการให้กำลังใจและช่วยให้เกิดความภูมิใจในตนเอง
1.4 มีอุเบกขา คือ
วางตัวเป็นกลาง จิตใจที่ตั้งอยู่ในความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่มีอคติ
2. ครุ หมายถึง การเป็นบุคคลที่มีความหนักแน่นมั่นคง
ทั้งในด้านของจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง ที่จะดำรงตนอยู่ใน
ความดีไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา และความหนักแน่นในด้านของความรอบรู้ธรรม
ที่จะช่วยให้ครู มีคุณสมบัติ ดังกล่าว คือ พละ 5 ประการ
ได้แก่
2.1 ศรัทธาพละ คือ
มีความเชื่อในทางที่ชอบ เช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2.2 วิริยะพละ คือ
ความเพียรในทางที่ชอบ คือ เพียรเลิกละความชั่ว
เพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดในสันดาน
2.3 สติพละ หมายถึง
ความระลึกได้ มีความรู้สึกตัวในการกระทำ การพูด การคิดให้รอบคอบ
2.4 สมาธิพละ
หมายถึง ความมีใจจดจ่อแน่วแน่มั่นคงในสิ่งที่เป็นบุญกุศล พลังสมาธินี้จะเป็นกำลังต่อต้าน
ความฟุ้งซ่านมิให้เกิดขึ้นในใจ
2.5 ปัญญาพละ
หมายถึง ความรอบรู้ คือรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรทำอะไรควรเว้น
อะไรเป็นประโยชน์ และอะไรไร้ประโยชน์
3. ภาวนิโย
การเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติดีงามควรแก่การเคารพ
4. วัตตา คือ เป็นผู้มีมานะในการตักเตือนสั่งสอน
เพื่อให้ศิษย์มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนดี คือใช้ความรู้
ความสามารถไปในทางสุจริต เป็นประโยชน์ ต่อตนเองและผู้อื่นได้
ลักษณะการสอนในแง่ของพุทธศาสนามี 5 ประการ คือ
4.1 สันทัสสนา คือ
สอนให้เข้าใจชัดเจน เห็นจริงอย่างที่ต้องการ ซึ่งจะต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นดังนี้
คือ สอนจากสิ่งที่รู้แล้ว ไปหาสิ่งที่ยังไม่รู้ สอนจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งยาก
สอนจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปหาสิ่งที่เป็นนามธรรม
4.2 สมาทปนา
มีการกระตุ้นเร่งเร้า เพื่อให้เกิดความกระตือรืนร้นที่จะประพฤติปฏิบัติตามที่ครูสอน
4.3 สมุตเตชนา
สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ
ไม่ครั่นคร้าม ต่อความยากลำบากหรืออุปสรรคใดๆ
4.4 สัมปหังสนา
สร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้เรียน คือมีเทคนิคในการสอนที่จะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจ
5. วจนักขโม
เป็นผู้มีความอดทนต่อถ้อยคำโดยมีเจตนาดีเป็นที่ตั้งการอดทนต่อกริยา
วาจาอันก้าวร้าวรุนแรงของ ผู้อื่นได้นั้น เป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง
6. คัมภีรัญจกถัง กัตตา สามารถขยายข้อความที่ยากให้ง่ายแก่การเข้าใจได้
การตีความในวิชาการนั้นๆ ให้ละเอียดลึกซึ้งง่ายแก่การเข้าใจ เพราะวิชาการต่างๆ
ที่ครูนำมาสอนนั้นล้วนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนไม่เคยเรียนมาก่อน
ครูจะต้องมีวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องยากๆ ได้โดยง่าย โดยวิธีการ
ดังนี้คือ
6.1 แสดงจุดเด่น
หัวข้อสำคัญๆ หรือโครงสร้างของวิชานั้น เพื่อให้ ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด
ก่อนที่จะอธิบาย ในรายละเอียดต่อไป
6.2 แสดงเหตุผลในวิชานั้น
เช่น อธิบายจากเหตุไปสู่ผล อธิบายจากผลไปสู่สาเหตุ ยกตัวอย่างประกอบหรือ
เปรียบเทียบกับเนื้อหาของวิชาอื่นๆ ที่ใกล้เคียง
6.3 แสดงเนื้อหาที่เป็นแก่นหรือสาระสำคัญของวิชานั้นๆ
ตลอดจนชี้ให้เห็นคุณค่าในเชิงปฏิบัติ เพราะผู้เรียน
จะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใกล้ตัวสามารถนำมาปฏิบัติได้
7. โนจัฏฐาเน นิโยชเย คือ การรู้จักและแนะนำศิษย์ไปในทางถูกที่ควรหมายถึง
ไม่นำศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือชักชวนไปสู่อบายมุข เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
เล่นการพนัน เที่ยวสถานเริงรมย์ต่างๆ วิธีการแนะนำศิษย์ไปใน ทาง
ที่ถูกที่ควรนั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ
7.1 คิดหาวิธี
ใช้วิธีขู่กำหราบ เป็นวิธีเตือนให้ศิษย์รู้สึกตัวและ ละความชั่ว กล่าวคือ
เมื่อเห็นศิษย์ ประพฤติ ไปใน ทางที่ไม่ถูกไม่ควร
7.2 นัคคหวิธี
ใช้วิธียกย่องชมเชย
เป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดนิสัยที่ดีและป้องกันไม่ให้เกิดนิสัยที่ไม่ดี
เมื่อใด ที่เห็นศิษย์ทำความดีครูจะต้องยกย่องชมเชย
7.3 ทิฎฐานคติวิธี
ใช้วิธีกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ครูต้องการให้ศิษย์ประพฤติปฏิบัติอย่างไร ครูก็ต้องปฏิบัติตน
เช่นนั้นให้ศิษย์ได้เห็นเป็นตัวอย่าง
พุทธทาสภิกขุ ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับครูที่ดีไว้ในการบรรยาย ณ
สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี วันที่ 4-9 กันยายน2527 สรุปได้ดังนี้คือ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2529
: 109 - 124)
1. ครูดี คือ ผู้นำทางวัตถุ หมายถึง การเป็นผู้นำใน 4 ประการดังนี้ คือ
1.1 เป็นผู้นำในการแสวงหาอย่างถูกต้อง
ยึดหลักการแสวงหาอย่างสัตบุรุษไม่ก่อให้เกิดทุกข์ ทั้งแก่ตนเองและ ผู้อื่น
ไม่กระทบกระทั่งให้ผู้อื่นเดือดร้อน
1.2 เป็นผู้นำในการเสวยผลอย่างถูกต้อง
หมายถึง ไม่ผูกขาดเอาผลที่ได้รับจากการแสวงหามาเป็นของตนแต่ ผู้เดียว
แต่จะต้องเผื่อแผ่ไปให้แก่ผู้อื่นโดยรอบด้าน
1.3 เป็นผู้นำในการเป็นอยู่อย่างถูกต้อง
คือ ดำเนินชีวิตโดยปฏิบัติตามอริยมรรค อันมีองค์แปด ซึ่งเมื่อปฏิบัติ
จนถึงที่สุดแล้วจะเกิดปัญญาเห็นธรรมชาติ ตามสภาพที่เป็นจริง คือ ความไม่มีตัวตน
ทุกสิ่งเป็นเพียง ผลการปรุง แต่งของธาตุต่างๆ ตามธรรมชาติ และจะต้องเกิด-ดับ ไป
ตามสภาพ จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเรา
อันจะก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัว และเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
1.4 เป็นผู้นำในการใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
2. เป็นผู้นำทางวิญญาณ หมายถึง ความเป็นผู้นำในเรื่องจิตใจ 4 ประการดังนี้คือ
2.1 มีความเข้าใจในกฏอิทิปปัจจัยตา
คือ มองเห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งในโลกนี้เป็นไปตามเหตุตาม ปัจจัย
เมื่อมีเหตุมีปัจจัยอย่างไรก็มีผลไปตามเหตุตามปัจจัย
2.2 มีความเข้าใจกฏตถตา
ตถตาเป็นภาษาบาลี แปลว่า เป็นเช่นนั้นเอง คือ ทุกสิ่งเป็นเช่นนั้นเองตามธรรมชาติ
เช่น มีการเกิดก็ต้องมีตาย ในความสบายก็มีความเจ็บไข้ซ่อนอยู่
การเจ็บการตายล้วนเป็นเช่นนั้นเอง ตามธรรมชาติ
ไม่ใช่โชคร้ายหรือเคราะห์ภัยอะไรทั้งสิ้น เป็นต้น
2.3 มีความเป็นอยู่อย่างไม่มีอุปสรรค
คือ ไม่ถือเอาอุปสรรคเป็นสิ่งขัดขวางหรือทำให้ท้อถอย แต่ให้ยินดีรับเอา
อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิต
ในการงานหรือในจิตใจมาเป็นบทเรียนที่จะช่วยให้มีความรู้มีประสบการณ์ และมีความ
สามารถในเรื่องนั้นๆ ดียิ่งขึ้น
2.4 มีความเป็นอยู่อย่างไม่มีทุกข์
ความทุกข์เกิดจากความไม่รู้ เช่น เมื่อมีความต้องการแล้วไม่เป็น ไปตาม
ความต้องการที่เกิดความทุกข์
ถ้าไม่ต้องการให้เกิดทุกข์ก็ต้องให้ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
ไม่ต้องการให้มาก ไป กว่า ความเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยนั้น
3. มีชีวิตเป็นธรรม คือ อยู่ด้วยธรรมและเพื่อธรรม หมายถึง
ใช้กรรมเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตเพื่อ ให้ได้ผลคือธรรมที่พึงปรารถนา เช่น
การดับทุกข์ ธรรมที่เป็นเครื่องมืออยู่มากมายเช่น ฆราวาสธรรม อัน เป็นธรรม
สำหรับผู้ครองเรือนมี 4 ประการคือ
1. สัจจะ ความจริง
2. ทมะ ความข่มใจ
3. ขันติ ความอดทน
4. จาคะ การเสียสละ
การให้
อิทธิบาท 4 คือ ธรรมที่ช่วยให้สำเร็จประโยชน์มี 4 ประการคือ
1. ฉันทะ
ความพอใจในสิ่งนั้น
2. วิริยะ
ความพากเพียรในสิ่งนั้น
3. จิตตะ
ความเอาใจใส่ในสิ่งนั้น
4. วิมังสา
ความสอดส่องค้นคว้าในสิ่งนั้น
อย่างไรก็ตามธรรมบางประการก็เป็นได้ทั้งธรรมที่เป็นเครื่องมือ
และธรรมที่เป็นผลเช่น ใช้ศีลเป็นเครื่องมือ ให้เกิดสมาธิ สมาธิจึงเป็นผลที่ต้องการ
ขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดผลคือปัญญา เป็นต้น
4. มีอุดมคติ ครูดีจะต้องมีอุดมคติ 4 ประการ
คือ
4.1 ทำงานเกินค่า
คือทำงานให้แก่โลกเกินค่าที่ได้รับตอบแทนจากสังคม เพราะครูเป็นผู้สร้างทางจิตใจ
ซึ่งมีค่าเกินกว่าจะตีค่าเป็นเงิน
4.2 ทำงานเพื่อหน้าที่มิใช่เพื่อตนเอง
ไม่เห็นแก่ตัว และไม่หวังประโยชน์ส่วนตน
4.3 ทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
ไม่หลงใหลในความสุขทางกาม ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ
4.4 ทำงานเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้
คือ เป็นผู้มีธรรมและมีชีวิตเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง แก่ผู้อื่นและแก่โลก
คุณลักษณะของครูที่ดีตามพระราชดำรัส
พระราชดำรัสในที่นี้ หมายถึง
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช
ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานแก่ครูอาวุโสประจำปี 2522 เมื่อวันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2523 มีข้อความที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูดีตอนหนึ่งว่า “... ครูที่แท้นั้นต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี
ต้องขยันหมั่นเพียรและอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
ต้องหนักแน่นอดกลั่นและอดทน
ต้องรักษาวินัยสำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ต้องมีเมตตาหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น
ทั้งในด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล..”
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ตามที่ผู้เขียนได้อัญเชิญมาข้างต้นนี้
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวแล้ว
สามารถเข้ากันได้กับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาทุกประการทั้งในหลักกัลยาณมิตตธรรมและหลักธรรมอื่นๆ
ดังเช่น
1 หมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ตรงกับหลักธรรม “วิริยะ” หรือ “วิริยารัมภะ”
2 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ตรงกับหลักธรรม “จาคะ”
3 หนักแน่น อดกลั้นอดทน ตรงกับหลักธรรม “ขันติ”
4 รักษาวินัย...อยู่ในระเบียบแบบแผน ตรงกับหลักธรรม “วัตตา” หรือ “วินโย”
5 ปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย ตรงกับหลักธรรม “สังวร”
6 ตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ตรงกับหลักธรรม “สมาธิ”
7 ซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ตรงกับหลักธรรม “สัจจะ”
8 เมตตาหวังดี ตรงกับหลักธรรม “เมตตา”
9 วางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ตรงกับหลักธรรม “อุเบกขา”
10 อบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ตรงกับหลักธรรม “ปัญญา”
ลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลต่างๆ
คุณลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลทั่วไป
คุณลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลทั่วๆไป
หมายถึงคุณลักษณะที่ดีของครูที่ได้จากความคิดเห็นของนักการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ
ตลอดจนบุคลในอาชีพต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมไว้ดังนี้
- มีลักษณะท่าทางดี
- มีความประพฤติดี
- มีอัธยาศัยดี
- มีความยุติธรรม
- เข้ากับคนได้ทุกชนชั้น
- เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของศิษย์
- พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
- มีความสามารถในการทำงาน
- มีความเป็นผู้นำ
- มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
- มีความสามารถในการสอน
- มีสุขภาพอนามัยที่ดี
- เป็นตัวของตัวเอง
- มีจริยธรรมสูง
- เข้มแข็งอดทน
- คล่องแคล่วว่องไว
- ยืดหยุ่นผ่อนปรน
- สติปัญญาดี
- มีวิจารณญาณ
- ไม่มัวเมาในอบายมุขทั้งปวง
คุณลักษณะที่ดีของครูที่ดีจากผลการวิจัย
คุณลักษณะที่ดีของครูที่ดีจากผลการวิจัย
ฝ่ายโครงการของวิทยาลัยครูบ้านเจ้าพระยา
ได้ทำการวิจัยเรื่องลักษณะของครูที่สังคมต้องการ โดยนักเรียน ครู
ผู้ปกครอง
ในเขตกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้สรุปผล ดังนี้
1. ด้านความประพฤติควรมีความประพฤติที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ๆ
และสังคม
2. ด้านความรู้ทางด้านวิชาการ
ควรมีความรู้กว้างขวางนอกเหนือไปจากความรู้เฉพาะ
3. ด้านการสอนต้องรู้จักพัฒนาปรับปรุงการสอนของตนให้ได้ผลดี
4. ด้านการปกครองนักเรียน
ควรฝึกนักเรียนให้มีวินัยควบคู่ไปกับการอบรมทางศีลธรรม
5. ด้านมนุษย์สัมพันธ์ของครู ครูควรสร้างความเข้าใจและคุณความดีของสังคม
6. ด้านบุคลิกภาพของครู ครูควรแต่งกายเหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง
มีเสียงพูดชัดเจน และมีลักษณะของความ
เป็นผู้นำ
7. ด้านการทำงานนอกเวลา และงานอดิเรกของครู เห็นว่าครูควรทำได้ไม่กฎหมาย
หรือขัดต่อ
ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
ผลงานการวิจัยของ
เฉลียว บุรีภัคดี เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่ดีโดยการรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน ผู้ปกครอง
ครูอาจารย์
ผู้บริหาร พระ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนทั้งสิ้น 7,762 คน มี ดังนี้
ครูที่ไม่ชอบมากที่สุด เรียงจากมากไปหาน้อย มี ดังนี้
1.ขาดความรับผิดชอบ
2.การเป็นคนเจ้าอารมณ์
3.ขาดความยุติธรรม
4.เห็นแก่ตัว
5.ประจบสอพอ
ครูที่ชอบมากที่สุด
มี ดังนี้
1.ตั้งใจสอนและสอนเข้าใจแจ่มแจ้ง
2.ความเข้าใจและเป็นกันเอง
3.ความรับผิดชอบ
4.มีความยุติธรรม
5.ความเมตตา
6.ร่าเริง แจ่มใส สุภาพ
7.มีวิธีสอนแปลก ๆ
8.มีอารมณ์ขัน
9.เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
ความบกพร่องของครู
จากมากไปหาน้อย มี ดังนี้
ชาย
1.ความประพฤติไม่เรียบร้อย
2.มัวเมาในอบายมุข
3.การแต่งกายไม่สุภาพ
4.การพูดจาไม่สุภาพ
5.ไม่รับผิดชอบการงาน
หญิง
1.การแต่งกายไม่สุภาพ
2.ความเป็นคนเจ้าอารมณ์
3.ประพฤติไม่เรียบร้อย
4.ไม่รับผิดชอบการงาน
5.ชอบนินทา
6.จู่จี้ขี้บ่น
7.วางตัวไม่เหมาะสม
8.คุยมากเกินไป
หน้าที่ของครูที่จำเป็นมากที่สุด คือ
1.สอนและอบรม
2.การเตรียมการสอน
3.หน้าที่ธุรการ เช่น ทำบัญชีเรียกชื่อและสมุดประจำวันชั้น
4.การแนะแนว
5.การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
6.ดูแลอาคารสถานที่
7.ทำความเข้าใจเด็ก
ลักษณะของครูที่ดี
เรียงตามลำดับ คือ
1.ความประพฤติเรียบร้อย
2.ความรู้ดี
3.บุคลิกการแต่งกายดี
4.สอนดี
5.ตรงเวลา
6.มีความยุติธรรม
7.หาความรู้อยู่เสมอ
8.ร่าเริง แจ่มใส
9.ซื่อสัตย์
10.เสียสละ
จำเนียร
น้อยท่าช้าง ยังได้ทำการวิจัยเรื่องครูดีในทัศนะของเด็ก โดยเลือกสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ในเขตการศึกษา 5 ทุกจังหวัด
เป็นจำนวน 2,418 คน ชาย 1,203 หญิง 1,215 คน สรุปได้ดังนี้
เกี่ยวกับคุณลักษณะทั่วไปของครู
1.ครูจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้
2.อายุที่เหมาะสมของครูควรอยู่ในระหว่าง 31–40 ปี
3.สถานภาพสมรสของครูจะเป็นอย่างไรก็ได้
4.ครูที่สอนในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นครูที่มีวุฒิในระดับปริญญาตรี
5.ครูควรมีความสามารถในการสอน โดยสามารถสอนได้ทั่วไป
และมีความสามารถพิเศษเฉพาะรายวิชา
6.ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น วิทยาศาสตร์
ปรากฎว่านักเรียนต้องการเรียนกับครูที่จบวิทยาศาสตร์เป็น
วิชาเอกและจบวิชาครูมาด้วย
เกี่ยวกับบุคลิกภาพลักษณะของครู
1.ครูควรมีความสงบเสงี่ยม ต้องระมัดระวังในการวางตัวเสมอ
2.ครูควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่แต่งกายนำสมัย และใช้เครื่องสำอางแต่พอประมาณ
3.พูดจาไพเราะนุ่มนวลอยู่เสมอ
4.ครูควรพูดเสียงดัง
5.มีอารมณ์เย็น
6.เป็นกันเองกับเด็กนักเรียนและมีอารมณ์ขันบ้าง
7.มีสุขภาพแข็งแรงทั้งทางด้านจิตใจและก็ทางด้านร่างกาย
8.มีลักษณะเป็นผู้นำและเป็นผู้ที่พึ่งพิงได้
เกี่ยวกับทางด้านวิชาการของครู
1.ควรศึกษาและเพิ่มเติมความรู้อยู่เสมอในทุกด้าน
2.ควรมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์
3.เคยเรียนวิธีสอนและผ่านการฝึกสอนมาก่อน
4.ควรมีวิชาความรู้วิชาวัดผล
5.ควรมีความรู้ในวิชาจิตวิทยา
การสอนและการปกครองของครู
1.ชอบครูที่ใช้อุปกรณ์การสอนช่วยในการสอน
2.ไม่ชอบครูที่มีความชำนาญแต่ไม่เตรียมการสอน
3.ชอบครูที่ให้งานและตรวจงานเสร็จเสมอ
4.ต้องการให้ครูสอนซ่อมนอกเวลาเรียน
5.ต้องการให้ครูมีกิจกรรมประกอบการสอนในบางโอกาส
6.ต้องการให้ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองบ้าง
7.ไม่ชอบครูที่เอาเวลาสอนไปทำงานอื่น
8.ชอบให้ครูยึดระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ โดยเคร่งครัด
ถึงจะมีการลงโทษก็ยินดี
9.การลงโทษไม่ต้องการให้ครูเฆี่ยนตี
10.นักเรียนต้องการเรียนดีถึงแม้ว่าความประพฤติจะด้อยไปบ้าง
ความประพฤติของครู
1.ไม่เห็นด้วยกับการที่ครูจะไปเที่ยวพักผ่อนในสถานเริงรมย์ต่าง ๆ
2.ไม่อยากให้ครูดื่มสุรา เล่นการพนัน
ไม่ว่าจะเป็นที่สโมสรข้าราชการหรือสถาบันที่ทั่ว ๆ ไป
3.ครูควรประพฤติตัวดีกว่าข้าราชการอาชีพอื่น ๆ เช่น หมอ หมายความว่า ตำรวจ
ทหาร และข้าราชการ
ปกครอง
4.ครูควรประพฤติตัวเรียบร้อย แต่ไม่ถึงกับจะเหมือนผ้าพับไว้
5.ครูควรรู้วัฒนธรรม แต่ไม่ต้องเคร่งครัดมากนัก
6.ครูควรเป็นกันเองกับเด็ก
มนุษย์สัมพันธ์ของครู
1.สามารถแนะนำให้เด็กได้ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการเรียน
2.ไม่เห็นด้วยที่ครูแสดงตัวเป็นกันเองกับเด็กโดยการพูดจาแบบนักเลง ๆ
3.ชอบครูที่มีความยุติธรรมและเป็นคนใจดี
4.ไม่ชอบที่ครูจะเข้ากับผู้ปกครองโดยวิธีการร่วมดื่มสุราหรือเล่นการพนัน
5.ครูควรร่วมมือพัฒนาชุมชน เพื่อจะเข้ากับชุมชนได้
6.ครูควรเชิญผู้ปกครองมาร่วมปรึกษาหารือในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนด้วย
ครูเป็นผู้ให้กำเนิดพลเมืองที่ดี
คือ ชุบพลเมืองให้เป็นนักรู้ นักทำงาน นักพูด นักเขียน นักตำรา นักประดิษฐ์ นัก
ค้นคว้าเหตุผล
นักปราชญ์ ฯลฯ เป็นต้น.
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
รายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก
และพฤติกรรมบ่งชี้ตามเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวด
มีดังต่อไปนี้
หมวดที่ 1 รอบรู้
สอนดี ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และ
พฤติกรรมบ่งชี้ ดังต่อไปนี้
1. ด้านความรู้และความสามารถในวิชาชีพครู ได้แก่
1) รู้แผนการศึกษาแห่งชาติ: รู้นโยบายการศึกษาที่ตนรับผิดชอบ,รู้จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2) รู้หลักสูตร คือ
- รู้หลักการ รู้จุดมุ่งหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร
- รู้แผนพัฒนาและนโยบายหลักของท้องถิ่น หรือจังหวัดที่ปฏิบัติ
- สามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบาย การพัฒนา
และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
- เข้าใจหลักสูตรและสามารถเชื่อมโยงหลักสูตรกับการสอนในระดับ ต่าง ๆ ได้
3) รู้เนื้อหาวิชาที่สอน คือ
- มีความแม่นยำ และละเอียดลึกซึ้งในเนื้อหาวิชา และปรับปรุง
ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- ผ่านการศึกษาหรือผ่านการอบรมในวิชาที่สอน
- จัดทำเอกสารประกอบการสอนและคู่มือในวิชาที่ตนรับผิดชอบ
- ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอน
- สามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการสอน
4) ทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ คือ
- เตรียมการสอนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ ครบทุกขั้นตอน
- วางแผนและจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้เหมาะกับการเรียนรู้ ของผู้เรียน
- นำหลักจิตวิทยามาใช้ในการเรียนการสอน สอดคล้องกับพัฒนาการ ของผู้เรียน
- ใช้ภาษาไทยสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง ทั้งการพูด การเขียน การ
ถ่ายทอดความรู้ การใช้คำถาม การออกความคิดเห็น และการอภิปราย
- ใช้สื่อการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่สอน
- รู้วิธีสอนหลายรูปแบบและเลือกมาสอนได้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้เรียน
- ใช้คำถามทำให้เด็กคิดเป็น
- จัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้เทคนิคการเสริมแรงอย่างถูกต้อง
5) รู้หลักการวัด และประเมินผล คือ
- มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะแบบทดสอบตามหลักการวัดผล ประเมินผล
และสามารถออกข้อสอบและปรับปรุงแบบทดสอบ รวมทั้งนำมาใช้ได้ จริง
เหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน
- ใช้การวัดและประเมินผลหลาย ๆ วิธีให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้
- ดำเนินการวัดผลและประเมินผลได้ถูกต้อง มีคุณภาพ
- นำผลการวัดและประเมินผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน
6) สอนซ่อมเสริม คือ
- วิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาและความต้องการจำเป็นของผู้เรียน
- สามารถใช้วิธีสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
7) การพัฒนาการสอน คือ
- ใช้ระบบข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้เป็นประโยชน์
- วิจัยการเรียนการสอน และหรือนำผลการวิจัยมาใช้ปรับปรุงวิธีการ สอน
แก้ปัญหาการเรียนการสอน
- เผยแพร่เทคนิควิธีการสอนใหม่ ๆ ตลอดจนผลงานทางวิชาการให้แก่
เพื่อนครูตามสมควร
2. ด้านสนับสนุนการเรียนการสอน
1) บริการเชิงแนะแนว
- สังเกตและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
- บันทึกระเบียนประวัตินักเรียน
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์ในการแก้ปัญหา
- ใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาให้นักเรียน
- ให้ความสนใจดูแลและช่วยเหลือด้านสุขภาพ อนามัย และความ ปลอดภัยของนักเรียน
- บริการสนเทศ
2) บริการด้านกิจการนักเรียน
- เป็นอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมชมรมของนักเรียน และกิจกรรมพิเศษ
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณลักษณะประชาธิปไตย
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมจริยธรรม
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3) บริการด้านสื่อการเรียนการสอน
- ดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในลักษณะ ใช้การได้
- จัดมุมห้องสมุดหรือมุมเสริมประสบการณ์
- จัดสื่อที่ส่งเสริมความถนัด ศิลปะ ดนตรี กีฬา แก่ผู้เรียน
4) งานธุรการ
- ทำเอกสารประจำชั้นได้ดี และเป็นปัจจุบัน
- จัดเก็บระเบียนสะสมนักเรียน เอกสาร เป็นหมวดหมู่และเป็นระบบ
- มีเอกสารหลักฐานการติดต่อระหว่างครูกับผู้ปกครอง
3. ด้านรอบรู้สถานการณ์บ้านเมืองและความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
1) ติดตามความเคลื่อนไหวและสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน
- ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม
2) จับประเด็นปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสังคมได้
- วิเคราะห์และให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารและประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้
- พยายามใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร และการสรุปประเด็นปัญหา
ที่สำคัญมาใช้ในการเรียนการสอน
หมวดที่ 2 มีคุณธรรม
จรรยาบรรณ ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก
และพฤติกรรมบ่งชี้ ดังต่อไปนี้
1. มีความเมตตากรุณา
- มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม ไม่นิ่งดูดายและ
เต็มใจช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ
- มีความสนใจและห่วงใยในการเรียนและความประพฤติของผู้เรียน แนะนำ
เอาใจใส่ช่วยเหลือเด็ก และเพื่อนร่วมงานให้ได้รับความสุข และพ้นทุกข์
เป็นกันเองกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกเปิดเผย ไว้วางใจและเป็นที่
พึ่งของผู้เรียนได้
2. มีความยุติธรรม
- มีความเป็นธรรมต่อนักเรียน เอาใจใส่และปฏิบัติต่อผู้เรียนและเพื่อน
ร่วมงานทุกคนอย่างเสมอภาคและไม่ลำเอียง ตัดสินปัญหาของผู้เรียนด้วย ความเป็นธรรม
มีความเป็นกลาง ยินดีช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ร่วมงานและ ผู้บริหาร
โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3. มีความรับผิดชอบ
- มุ่งมั่นในผลงาน มีวิธีการที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ วางแผนการ
ใช้เวลาอย่างเหมาะสมและปฏิบัติงานได้ทันเวลา ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าและมี ประสิทธิภาพ
4. มีวินัย
- มีวินัยในตนเอง ควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
มีวิธีทำงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่นได้
- ปฏิบัติตามกฎและระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา
5. มีความขยัน
- มีความตั้งใจ กระตือรือร้น และปฏิบัติงานเต็มความสามารถอย่าง สม่ำเสมอ
ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคในการทำงาน
- มีความพยายามที่จะสอนเด็กให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
6. มีความอดทน
- อดทนเมื่อเกิดอุปสรรค ปฏิบัติงานเต็มที่ไม่ทิ้งขว้างกลางคัน
- มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ไม่โกรธง่ายและสามารถควบคุม
อารมณ์ได้อย่างเหมาะสม อดทน อดกลั้น ต่อคำวิพากษ์วิจารณ์28
7. มีความประหยัด
- รู้จักประหยัดอดออม ช่วยรักษาและใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัด ไม่ใช้จ่าย
ฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตน รู้จักเก็บออมทรัพย์ เพื่อความมั่นคงของฐานะ
- ใช้ของคุ้มค่า ช่วยรักษาและใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัด
8. มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู
- เห็นความสำคัญของอาชีพครู สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรวิชาชีพ ครู
เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาชีพครู ร่วมมือและส่งเสริมให้มีการพัฒนา มาตรฐานวิชาชีพครู
- รักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู
ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีและเกิดประโยชน์ต่อ ส่วนรวมเป็นสำคัญ
รักษาความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในหน้าที่ การงาน
ปกป้องและสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคมเกี่ยวกับวิชาชีพครู
- เกิดความสำนึกและตระหนักที่จะเป็นครูที่ดี ปฏิบัติตนให้เหมาะสมที่เป็น
ปูชนียบุคคล
9. มีความเป็นประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต
- รับฟังความคิดเห็นและข้อโต้แย้งของผู้อื่น เปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความ
คิดเห็น
- มีเหตุผล ยอมรับและปฏิบัติตามความคิดเห็นที่มีเหตุผลโดยคิดถึง
ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ใช้หลักการและเหตุผลในการตัดสินใจและ แก้ปัญหา
หมวดที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนา ประกอบด้วยคุณลักษณะ พฤติกรรมหลักและ พฤติกรรมบ่งชี้ ดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาตนเอง
1) รู้จักสำรวจและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
- รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์และนำมาปรับปรุงตนเอง
- ประเมินผลและปรับปรุงการทำงานของตนเองตลอดเวลา
- ยอมรับความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างมีเหตุผล
ทางคุณธรรม
2) สนใจใฝ่รู้
- ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
- เข้าร่วมประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิด
- สนใจติดตามเหตุการณ์ปัจจุบัน และติดตามความเคลื่อนไหวทาง การศึกษา
3) เพิ่มพูนวิทยฐานะ
- สนใจกระตือรือร้นในการที่จะเข้ารับราชการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่
จะนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
4) คิดค้นคว้าวิทยาการใหม่ ๆ
- คิดเทคนิควิธีการสอนหรือประดิษฐ์ผลงานแปลกใหม่มาใช้ในการเรียน การสอน
- นำผลที่ได้จากการทดลองมาปรับปรุงใช้พัฒนางานและเผยแพร่ให้เป็น
ประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2. การพัฒนาชุมชน
บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนเข้าร่วมประชุมกิจกรรมของชุมชนตามความเหมาะสม
ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามวิถีทางประชาธิปไตยแก่ชุมชน โดย
ประพฤติตนเป็นแบบอย่างและชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามในโอกาส
อันควรมีส่วนร่วมให้โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการชุมชน พร้อมทั้งพยายาม ใช้แหล่งวิทยาการชุมชนให้เป็นประโยชน์
ประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อทำประโยชน์ต่อชุมชน
นำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสู่ชุมชน
เป็นผู้นำในการริเริ่มกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ลักษณะครูที่ดีที่พึงประสงค์
ผลสรุปจากการวิจัยได้แสดงคุณลักษณะของครูที่ดีที่พึงปรารถนา 3 ด้านคือ
1. มีความรู้ดี ซึ่งได้แก่ ความรู้ในวิชาการทั่วไป ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสอน ความรู้ในวิชาครู ความรู้ในหน้าที่และงานครูทุกประการ
2.มีทักษะในการสอนและการปฏิบัติงานครู เช่น อธิบายเก่ง สอนสนุก ใช้สื่อและอุปกรณ์เสมอ จัดกิจกรรมสร้างบรรยากาศได้น่าเรียน เร้าพฤติกรรม ตลอดจนชี้แนะแนวทางในการศึกษา จนนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นต้น
3.มีคุรุธรรมนิยม อันได้แก่ คุณธรรมของครู จริยธรรม และคตินิยมในความเป็นครู เช่น ภาคภูมิใจที่ได้เป็นครู มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู รักการสอน พอใจที่ได้ทำประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของศิษย์ ช่วยพัฒนาคนและสังคม ตลอดจนมีวิญญาณแห่งความเป็นครู เป็นต้น
(อำไพ สุจริตกุล.2533:23-26)
ผลสรุปจากการวิจัยได้แสดงคุณลักษณะของครูที่ดีที่พึงปรารถนา 3 ด้านคือ
1. มีความรู้ดี ซึ่งได้แก่ ความรู้ในวิชาการทั่วไป ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสอน ความรู้ในวิชาครู ความรู้ในหน้าที่และงานครูทุกประการ
2.มีทักษะในการสอนและการปฏิบัติงานครู เช่น อธิบายเก่ง สอนสนุก ใช้สื่อและอุปกรณ์เสมอ จัดกิจกรรมสร้างบรรยากาศได้น่าเรียน เร้าพฤติกรรม ตลอดจนชี้แนะแนวทางในการศึกษา จนนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นต้น
3.มีคุรุธรรมนิยม อันได้แก่ คุณธรรมของครู จริยธรรม และคตินิยมในความเป็นครู เช่น ภาคภูมิใจที่ได้เป็นครู มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู รักการสอน พอใจที่ได้ทำประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของศิษย์ ช่วยพัฒนาคนและสังคม ตลอดจนมีวิญญาณแห่งความเป็นครู เป็นต้น
(อำไพ สุจริตกุล.2533:23-26)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น