ประวัติศาสตร์ การฝึกหัดครูไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครเป็นมหาวิทยาลัยด้านการฝึกหัดครูที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ได้รับการสถาปนาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในนาม "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์" สังกัดกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ผลิตครูเพื่อรองรับการขยายตัวของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน
เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทยมีมิสเตอร์กรีนรอด ชาวอังกฤษเป็นอาจารย์ใหญ่คนเแรก โดยมีที่ตั้งครั้งแรกอยู่ในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นก็ได้ย้ายไปสถานที่ตั้งไปอีกหลายแห่ง
ในปี พ.ศ. 2449 มีการปรับปรุงหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น และให้นับเป็นโรงเรียนขั้นอุดมศึกษา และในปี พ.ศ. 2456 ได้รวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เรียกว่า แผนกครุศึกษา แต่ยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงธรรมการ
พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ จึงเป็นแผนกครุศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมื่อมีการสถาปนากรมมหาวิทยาลัยขึ้นแล้วรวมโรงเรียนข้าราชการพลเรือนทุกแผนกขึ้นกับกรมนี้ กระทรวงธรรมการจึงได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปสังกัดกรมศึกษาธิการ แผนกวิชาสามัญศึกษา
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เป็น "โรงเรียนฝึกหัดครู" เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) และได้ย้ายไปตั้งที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2475 เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระราชวังสนามจันทร์" และโดยที่ภายในพระราชวังสนามจันทร์มีศาลพระพิฆเนศวรอยู่แล้ว ทางโรงเรียนจึงได้นำรูปพระพิฆเนศวรมาเป็นตราและสัญลักษณ์ของโรงเรียน
พ.ศ. 2477 ได้ย้ายโรงเรียนจากพระราชวังสนามจันทร์มาตั้งที่กองพันทหารราบที่ 6 ถนนศรีอยุธยา หลังวังปารุสกวัน (ปัจจุบันคือ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์) จึงเรียกชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร" และ พ.ศ. 2490 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร" ผลิตครูตามหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ใช้เวลา 3 ปี
พ.ศ. 2498 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครได้ใช้หลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) เวลาเรียน 2 ปี แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถมเดิม เพื่อเร่งรัดการผลิตครูให้ทันกับความต้องการ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้ย้ายโรงเรียนมาเช่าที่ดินวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ณ อาคารเลขที่ 3 หมู่ที่ 6 ตำบลอนุสาวรีย์ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร อันเป็นที่ตั้งปัจจุบันโดยยังเช่าที่ดินวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ต่อมาจนปัจจุบัน
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร ขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูพระนคร" ทำให้สามารถเปิดหลักสูตประกาศนียบัตรวิชาการศึกศสชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ได้ และเพื่อสนองความต้องการของโรงเรียนมัธยมแบบประสม วิทยาลัยจึงได้เปิดวิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ โดยรับนักเรียนที่จบ ป.กศ. มาเรียนวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างโลหะ ช่างก่อสร้าง และช่างปั้นดินเผา ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 จึงได้เปิดสอนวิชาอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก
พ.ศ. 2517 ได้เปิดหลักสูตรประโยคครูอุดมศึกษา (ป.อ.) โดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยรับผู้สำเร็จ ป.กศ.สูง หรืออนุปริญญา เรียน 2 ปี เมื่อสำเร็จจะได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ซึ่งมีผลทำให้วิทยาลัยครูทั้ง 36 แห่งทั่วประเทศสามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี จึงได้รับการปรับหลักสูตรประโยคครูอุดมศึกษา เป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
พ.ศ. 2521 วิทยาลัยครูพระนคร เปิดโครงการฝึกอบรมครูประจำการ (อ.ค.ป.) ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมกับเลิกการผลิตครูระดับป.กศ.สูง และระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิตเพิ่มขึ้น และในปี พ.ศ.2523 ก็ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีคุรศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี เป็นรุ่นแรก
พ.ศ. 2527 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2)ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนสาขาวิชาอื่นนอกเหนือจากวิชาชีพครู โดยสภาการฝึกหัดครูอนุมัติให้เปิดสอนใน3 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ และในปีการศึกษา 2528 ก็ได้เปิดรับนักศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ทั้งสายวิชาชีพครูและสายวิชาการอื่น จากนั้นก็ได้มีการขยายและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น และประเทศชาติมาโดยลำดับ
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏด้วย และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูพระนคร จึงได้ชื่อว่า "สถาบันราชภัฏพระนคร" และมีภารกิจตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 คือ "เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครู และส่งเสริมวิทยฐานะครู"
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครเป็นมหาวิทยาลัยด้านการฝึกหัดครูที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ได้รับการสถาปนาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในนาม "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์" สังกัดกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ผลิตครูเพื่อรองรับการขยายตัวของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน
เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทยมีมิสเตอร์กรีนรอด ชาวอังกฤษเป็นอาจารย์ใหญ่คนเแรก โดยมีที่ตั้งครั้งแรกอยู่ในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นก็ได้ย้ายไปสถานที่ตั้งไปอีกหลายแห่ง
ในปี พ.ศ. 2449 มีการปรับปรุงหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น และให้นับเป็นโรงเรียนขั้นอุดมศึกษา และในปี พ.ศ. 2456 ได้รวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เรียกว่า แผนกครุศึกษา แต่ยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงธรรมการ
พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ จึงเป็นแผนกครุศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมื่อมีการสถาปนากรมมหาวิทยาลัยขึ้นแล้วรวมโรงเรียนข้าราชการพลเรือนทุกแผนกขึ้นกับกรมนี้ กระทรวงธรรมการจึงได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปสังกัดกรมศึกษาธิการ แผนกวิชาสามัญศึกษา
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เป็น "โรงเรียนฝึกหัดครู" เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) และได้ย้ายไปตั้งที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2475 เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระราชวังสนามจันทร์" และโดยที่ภายในพระราชวังสนามจันทร์มีศาลพระพิฆเนศวรอยู่แล้ว ทางโรงเรียนจึงได้นำรูปพระพิฆเนศวรมาเป็นตราและสัญลักษณ์ของโรงเรียน
พ.ศ. 2477 ได้ย้ายโรงเรียนจากพระราชวังสนามจันทร์มาตั้งที่กองพันทหารราบที่ 6 ถนนศรีอยุธยา หลังวังปารุสกวัน (ปัจจุบันคือ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์) จึงเรียกชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร" และ พ.ศ. 2490 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร" ผลิตครูตามหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ใช้เวลา 3 ปี
พ.ศ. 2498 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครได้ใช้หลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) เวลาเรียน 2 ปี แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถมเดิม เพื่อเร่งรัดการผลิตครูให้ทันกับความต้องการ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้ย้ายโรงเรียนมาเช่าที่ดินวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ณ อาคารเลขที่ 3 หมู่ที่ 6 ตำบลอนุสาวรีย์ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร อันเป็นที่ตั้งปัจจุบันโดยยังเช่าที่ดินวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ต่อมาจนปัจจุบัน
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร ขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูพระนคร" ทำให้สามารถเปิดหลักสูตประกาศนียบัตรวิชาการศึกศสชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ได้ และเพื่อสนองความต้องการของโรงเรียนมัธยมแบบประสม วิทยาลัยจึงได้เปิดวิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ โดยรับนักเรียนที่จบ ป.กศ. มาเรียนวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างโลหะ ช่างก่อสร้าง และช่างปั้นดินเผา ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 จึงได้เปิดสอนวิชาอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก
พ.ศ. 2517 ได้เปิดหลักสูตรประโยคครูอุดมศึกษา (ป.อ.) โดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยรับผู้สำเร็จ ป.กศ.สูง หรืออนุปริญญา เรียน 2 ปี เมื่อสำเร็จจะได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ซึ่งมีผลทำให้วิทยาลัยครูทั้ง 36 แห่งทั่วประเทศสามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี จึงได้รับการปรับหลักสูตรประโยคครูอุดมศึกษา เป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
พ.ศ. 2521 วิทยาลัยครูพระนคร เปิดโครงการฝึกอบรมครูประจำการ (อ.ค.ป.) ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมกับเลิกการผลิตครูระดับป.กศ.สูง และระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิตเพิ่มขึ้น และในปี พ.ศ.2523 ก็ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีคุรศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี เป็นรุ่นแรก
พ.ศ. 2527 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2)ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนสาขาวิชาอื่นนอกเหนือจากวิชาชีพครู โดยสภาการฝึกหัดครูอนุมัติให้เปิดสอนใน3 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ และในปีการศึกษา 2528 ก็ได้เปิดรับนักศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ทั้งสายวิชาชีพครูและสายวิชาการอื่น จากนั้นก็ได้มีการขยายและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น และประเทศชาติมาโดยลำดับ
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏด้วย และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูพระนคร จึงได้ชื่อว่า "สถาบันราชภัฏพระนคร" และมีภารกิจตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 คือ "เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครู และส่งเสริมวิทยฐานะครู"
ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ
เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี
สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ
สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ
วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน
คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
ความเป็นมาของครู
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การฝึกหัดครู
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้และพัฒนาการเรียนการสอน
และงานในหน้าที่ครูอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรม เป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้และทฤษฎี
ไปประยุกต์ใช้ และสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา เพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหาในกระบวนการทำงาน
โดยมีครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารสถานศึกษา
เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูใช้ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติการสอนตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี เป็นเวลา 1
ปีการศึกษาตามข้อกำหนดของคุรุสภา เพื่อยกระดับมาตรฐานการฝึกหัดครูให้สูงขึ้น
โดยมุ่งหวังว่านักศึกษามีทักษะในการสอนและปฏิบัติงานในหน้าที่ครูอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในท้องถิ่นจึงจัด
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขึ้น
การพัฒนาครูในศตวรรษใหม่
จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21: ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย
โครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน(INTREND)โดยสถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ได้จัดเสวนาครั้งที่ 5 เรื่อง “จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 : ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย"
กระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 ได้กลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก
ในรายงานเรื่อง21st
Century Skills ได้พูดถึงแนวโน้มของคุณลักษณะของกำลังคนรุ่นใหม่ในอนาคตที่ย้ำทักษะร่วมสำคัญ
คือ “3Rs 7C 2L” ที่เป็นทักษะจำเป็นยิ่งทั้งในทักษะพื้นฐาน“อ่าน เขียน คิดคำนวณ” (3R)และทักษะเท่าทัน“มีวิจารณญาณ สู่การสร้างสรรค์ ทำงานร่วมมือ สื่อสารยุคใหม่
เข้าใจพหุวัฒนธรรม ย้ำความเชื่อมั่น ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง” (7C) รวมถึง “ทักษะการเรียนรู้และความเป็นผู้นำ” (2L) และยังชี้ทิศทางของการศึกษาที่จะเปลี่ยนไปไม่ว่าจะอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมาปฏิวัติการเรียนรู้ รูปแบบชั้นเรียนที่จะมีลักษณะเป็นห้องทำงานปฏิบัติการ (Studio) รวมถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเรียนเป็นทีมและลงมือทำ (Team
Learning & Action Learning
ในรายงานเรื่อง21st
Century Skills ได้พูดถึงแนวโน้มของคุณลักษณะของกำลังคนรุ่นใหม่ในอนาคตที่ย้ำทักษะร่วมสำคัญ
คือ “3Rs 7C 2L” ที่เป็นทักษะจำเป็นยิ่งทั้งในทักษะพื้นฐาน“อ่าน เขียน คิดคำนวณ” (3R)และทักษะเท่าทัน“มีวิจารณญาณ สู่การสร้างสรรค์ ทำงานร่วมมือ สื่อสารยุคใหม่
เข้าใจพหุวัฒนธรรม ย้ำความเชื่อมั่น ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง” (7C) รวมถึง “ทักษะการเรียนรู้และความเป็นผู้นำ” (2L) และยังชี้ทิศทางของการศึกษาที่จะเปลี่ยนไปไม่ว่าจะอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมาปฏิวัติการเรียนรู้ รูปแบบชั้นเรียนที่จะมีลักษณะเป็นห้องทำงานปฏิบัติการ (Studio) รวมถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเรียนเป็นทีมและลงมือทำ (Team
Learning & Action Learning
จากการประมวลวรรณกรรมแนวทางและนวัตกรรมการพัฒนาครูที่ดูจะถูกเน้นหนักมากในปัจจุบันน่าจะมีสาระสำคัญครอบคลุมแนวโน้มเชิงวิธีการ
5ประการคือ
1) การสร้างระบบครูผู้เชี่ยวชาญเป็น Coach ประกบตัวฝึกปฏิบัติให้ครู
เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างครูผู้มีประสบการณ์กับเพื่อนครูในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาหารือ (Coaching &
Mentoring) จึงกลายเป็นกลไกและวิธีการสำคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน
การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาหารือ (Coaching &
Mentoring) จึงกลายเป็นกลไกและวิธีการสำคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน
2) การผสมผสานกระบวนการวัดผลเข้ากับกระบวนการสอนอย่างแนบแน่น
ปรับให้ยืดหยุ่นหลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัด
โดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย
ปรับให้ยืดหยุ่นหลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัด
โดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย
3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาครู
เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ Web-Based Training ต่างๆ และเพื่อ “จัดการความรู้” ระหว่างครูด้วยกัน
เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ Web-Based Training ต่างๆ และเพื่อ “จัดการความรู้” ระหว่างครูด้วยกัน
4)การเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่ “โรงเรียนเรียนรู้
ครูนักวิจัย” จากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น
“องค์กรการเรียนรู้” ที่เน้นให้ครู
“เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกัน”มากยิ่งขึ้น
ครูนักวิจัย” จากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น
“องค์กรการเรียนรู้” ที่เน้นให้ครู
“เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกัน”มากยิ่งขึ้น
5)ยุทธศาสตร์“การสร้างแรงบันดาลใจ
จุดไฟพลังครู” (Motivation
& Inspiration) เน้นการค้นหาและหนุนเสริม
“ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้” ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคำถามดีๆ
เชื่อมโยงประเด็นสำคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มาก
แนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครูผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคำถามดลใจ อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป
& Inspiration) เน้นการค้นหาและหนุนเสริม
“ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้” ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคำถามดีๆ
เชื่อมโยงประเด็นสำคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มาก
แนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครูผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคำถามดลใจ อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น